รายงาน
การศึกดูงาน BOI FAIR เทคโนโลยีเพื่อที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบนิเทศศิลป์
เสนอ
ผศ. ประชิต ทิณบุตร
จัดทำโดย
นาย ฉัตรชนินทร์ จันทร์แย้ม
รหัสนักศักษา 5211310809 กลุ่ม 102
รายงานงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
วิชา เทคโนโลยีการออกแบบ (ARTI3319)
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
เกี่ยวกับงาน BOI Fair 2011
แนวคิดของงาน : รวมพลังน้ำใจ “โลกสดใส ไทยยั่งยืน” Going Green for the Future
วันเวลาที่จัด : 5 - 20 มกราคม 2555
สถานที่จัดแสดงงาน : อิมแพ็ค เมืองทองธานี
งานจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 วัตถุประสงค์คือ เพื่อแสดงศักยภาพ ของอุตสาหกรรมไทย และเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
แนวคิดหลักของงาน คือการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ดี และการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม และคุ้มค่า เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเพื่อสนองแนวคิดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สถานที่จัดงานรวมทั้งภายใน และภายนอกอาคาร ใช้เนื้อที่ประมาณ 240,000 ตารางเมตร
เอกลักษณ์ของงาน (Mascot) ได้นำ “ช้าง” ที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนมาใช้ โดยได้ปรับรูปแบบของ Mascot ที่ใช้ในงาน BOI Fair 2000 ชึ่งเป็นช้างน้อยบินอย่างมีความสุข ให้เติบโตและมีความโดดเด่นขึ้น เพื่อต้อนรับการพัฒนาและการลงทุนอย่างยั่งยืน เพื่อโลกสีเขียว
สัญลักษณ์ สะท้อนภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดหลัก 3 ประการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้ผสมผสานทฤษฎี 3Rs คือ Reduce (การลดใช้) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) การใช้พลังงานหมุนเวียน และการพัฒนาสภาวะแวดล้อมที่ปลอดมลพิษเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ของมนุษชาติ
SCG เข้าร่วมแสดงนวัตกรรม และเทคโนโลยี ในงาน BOI Fair 2011 ภายใต้แนวคิด อยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและยั่งยืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ภายใต้อาคารรูปทรงใบไม้ ” และเป็น อีโค่ พาวิลเลียน (Eco Pavilion) ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ภายในอาคารจะแบ่งส่วนการแสดงออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
ส่วนแรกจะเป็นการแสดงผ่านจอ MultimediaและModelTalkerพูดถึงความเป็นอยู่ของเมืองในอนาคต
ส่วนที่สอง เป็นการนำเสนอผ่านจอ 360 องศา ย้อนอดีตให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากภัยภิบัติต่างๆ
ส่วนที่สาม (ส่วนนี้ผู้เขียนชอบเป็นพิเศษ) เป็นส่วนที่นำเสนอนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
บ้าน SCG Care บ้านที่ออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด และมีความปลอดภัยสูงสุด
Shield Life เป็นที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย รูปทรงเมล็ดข้าว แข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา (และสวย)
สามารถไปสัมผัสประสบการณ์จริงจากเครื่องจำลองแผ่นดินไหวได้ด้วยตนเอง และดูนวัตกรรมต่างๆ ในเครืองของ SCG ได้ที่ SCG Pavilion
เทคโนโลยี 4D หรือ ภาพ4มิติ
เทคโนโลยีเนรมิตได้ทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่จินตนาการ !!!
คำพูดนี้ดูจะเป็นจริงขึ้นทุกวัน
ทั้งหมดทำได้ด้วย4Dหรือ4Dimensionความก้าวหน้าอีกขั้นของวงการภาพยนตร์ที่เพิ่มอรรถรสของการดูหนัง ผ่านการสัมผัสทางความรู้สึก
…4D หรือภาพยนตร์ 4 มิติ คือการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวแสดงผ่านภาพที่มีความกว้าง ยาว และลึก เหมือนภาพยนตร์ 3 มิติที่คุ้นตา โดยมิติที่ 4 ที่เพิ่มเข้ามา เป็นสภาพแวดล้อมระหว่างนั่งดู ซึ่งเกิดจากเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ภายในโรงภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสบรรยากาศประหนึ่งได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์จริง
...ควันไฟฟุ้งตลบ แสงแวบจากฟ้าแลบการสั่นสะเทือน และเม็ดฝนโปรยปราย ฯลฯ
แนวโน้มในอนาคตvirtualstudioกับงานออกแบบ
ที่มีราคาค่าเข้าชมแพงลิบแล้ว ประเทศไทยก็มีห้องฉายภาพยนตร์ 4 มิติเช่นกัน ที่อุทยานการเรียนรู้ ชั้น 6 ทีเค พาร์ค ชื่อ “ICT 4D THEATRE” ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ 4D แห่งเดียวในไทย ทุ่มทุนสร้าง 10 ล้านบาท เพื่อเป็นห้องฉายหนัง 4 มิติสาธิตให้กับเยาวชนของไทย มีเอฟเฟกต์ลม, น้ำ, การสั่นสะเทือนของเก้าอี้, ควัน, แสงจากแฟลชและ สปอตไลต์
การลดค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า
“ต้นทุนการทำหนัง 4 มิติสูงกว่าการทำหนัง 3 มิติเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เพราะภาพที่รับรู้ด้วยตาเป็น 3 มิติ มีความกว้าง ยาว และลึก
โดยต้นทุนที่เพิ่มจะอยู่ในส่วนของการใส่สัญญาณการสั่งงานกลไกต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ในโรงภาพยนตร์ให้มีความสัมพันธ์กับจังหวะการเกิดเอฟเฟกต์ของหนังไว้ในฟิล์ม เนื่องจากฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายทำปัจจุบันเป็นแบบมัลติแทร็ก ดังนั้นหนัง 4D จะใช้แทร็กหนึ่งใส่สัญญาณเพื่อผสานจังหวะการสั่งเอฟเฟกต์ให้สอดคล้องกับตัวหนัง และบทพูดที่ถูกบันทึกเสียงไว้ในอีกแทร็กหนึ่ง”
และเมื่อมีหนังเรื่องใหม่มาก็ต้องรื้อระบบกลไกเดิมออกวางกลไกใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้น ทำให้โอกาสการเกิดภาพยนตร์ 4 มิติที่ฉายในโรงภาพยนตร์อย่างแพร่หลายเป็นเรื่องยาก ที่สำคัญราคาค่าตั๋วก็แพงลิบ ส่งผลให้ทิศทางย่างก้าวของภาพยนตร์ 4 มิติเป็นเพียงการสร้างขึ้นเพื่อสาธิต ใช้ในงานโฆษณา หรือสร้างขึ้นเพื่อใช้เฉพาะกิจเท่านั้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มองเห็นว่ามีต่อวิชาชีพนักออกแบบนิเทศศิลป์
เนื่องจากเราเป็นผู้ออกแบบนิเทศศิลป์ เราก็ต้องรู้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับและแก้ไข เพื่อทันสมัยตาม ยิ่งขึ้น สำหรับ เทคโนโลยี 4D เป็นเทคโนโลยีที่เป็นการทำงานควบคู่ไปกับนักออกแบบนิเทศศิลป์เพราะเป็นการทำงานร่วมกันและเป็นสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา
และการไปงาน BOI FAIR 2011 ในครั้งนี้ เราจึงนำนวัตกรรมใหม่ๆจาก SCG มานำเสอนกันนะครับ
สืบค้นหาฟอนต์ที่เป็นฟอนต์ต้นฉบับหรือมีลักษณะคล้ายฟอนต์ของSCG
ฟอนต์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟอนต์ที่เป็นโลโก้ของ SCG คือ Vegur by arro Vegur-Bold
Vegur-Light